ข้อมูลทั่วไป

  • ประวัติและสภาพทางภูมิศาสตร์ 
          หัวตะพานได้ยกฐานะเป็นอำเภอหัวตะพาน ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 อยู่ห่างจากจังหวัดอำนาจเจริญประมาณ 40 กิโลเมตร เส้นทางเข้าสู่จังหวัดได้ 2 ทางคือผ่านถนนหมายเลข 2112 เชื่อมต่อถนนชยางกูร และเชื่อมต่อถนนอรุณประเสริฐ มีพื้นที่ประมาณ 540 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 337,500 ไร่ ที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม ทำนาได้ปีละ 1 ครั้งตามฤดูกาล อาศัยแหล่งน้ำจากหนองสามขาและลำเซบายที่ไหลผ่านตำบลต่างๆ
  • สภาวะเศรษฐกิจ 
          ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมา คือ รับจ้าง ค้าขาย รับราชการ การทำผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ได้แก่ ทอผ้าลายขิด การตัดเย็บชุดวอร์ม การเจียระไนพลอย การทอเสื่อกก และการทำน้ำตาลโตนด เป็นต้น 
  • อาณาเขต 
- ทิศเหนือ ต่อเขต อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
- ทิศตะวันออก ต่อเขต อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ และอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศใต้ ต่อเขต อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันตก ต่อเขต อำเภอคำเขื่อนแก้วและอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร  
  • การปกครอง 
          อำเภอหัวตะพานแบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน เทศบาลตำบล 3 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง 
  • ประเพณีวัฒนธรรม
          ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญของอำเภอหัวตะพาน คือการยึดจารีตประเพณีตามฮิตสิบสอง และประเพณีวันสงกรานต์ และประเพณีลอยกระทง เป็นต้น
  • แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ 
  1. ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านสร้างถ่อ ตำบลสร้างถ่อน้อย
  2. ป่าดงใหญ่ ตำบลสร้างถ่อน้อย มีเนื้อที่กว่า 25,000 ไร่
  3. สวนสัตว์เฉลิมพระเกียรติบ้านนาคู ตำบลสร้างถ่อน้อย
  4. วิหารหลวงปู่ขาวอนาลโย วัดบ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว
  5. วัดพระศรีเจริญ ตำบลหัวตะพาน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐ์องค์พระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ประจำอำเภอหัวตะพาน และในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปีชาวบ้านหัวตะพาน จัดงานพิธีสักการะที่ยิ่งใหญ่เพื่อให้ประชาชนทั่วทุกสาระทิศได้กราบไหว้สักการะ
  6. หนองสามขา ตำบลรัตนวารี เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ที่มีนิเวศวิทยาอุดมสมบูรณ์
  7. ศูนย์ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้านผ้าลายขิดที่บ้านคำพระ บ้านกุดซวย ตำบลคำพระและบ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน
  8. แหล่งโบราณคดี บ้านกุดซวย ตำบลคำพระที่ขุดพบ หม้อ ไห ดินเผา และโครงกระดูกในยุคโบราณ เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของนักโบราณคดีในพื้นที่ตำบลคำพระ
  9. แหล่งผลิตน้ำตาลโตนด บ้านโพนขวาว ตำบลจิกดู่
  10. วัดเก่าบ่อ บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว เป็นศาสนสถานที่เก่าแก่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดสวยที่สุดในอำเภอหัวตะพาน ปัจจุบันเป็นวัดที่ดำเนินโครงการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด เด็กและเยาวชน และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม

ปฏิทินงาน